วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การรักษามะเร็งในประเทศญี่ปุ่น (5)

ในปัจจุบันนอกจากการรักษามะเร็งด้วยวิธีการทางศัลยกรรมและเคมีบำบัดแล้ว การรักษาที่มีการกล่าวถึงก็คือการรักษาด้วยเซลล์ ซึ่งการรักษาด้วยเซลล์ก็มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดหรือที่เรียกกันจนคุ้นเคยว่า สเต็มเซลล์ การรักษาดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายอย่างทั่วโลก ซึ่งเป็นการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว

การรักษาด้วยเซลล์บำบัด หรือที่เรามักจะคุ้นเคยกันในชื่อวัคซีนต้านมะเร็งบ้าง เซลล์ต้านมะเร็งบ้างนั้น ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศอื่นๆนอกเหนือจาก ประทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมากนัก เนื่องด้วยความท้าทายในการรักษาและความขาดแคลนในสารเคมี หรือยาที่เกี่ยวเนื่อง แต่ในประเทศญี่ปุ่นนั้นได้มีการพัฒนาการรักษาด้วยยีนและเซลล์บำบัดเพื่อต้านมะเร็งอย่างแพร่หลาย และหนึ่งในการรักษาที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ การรักษาด้วย Dendritic cell vaccine WT1 แล้วโดยมี โรงพยาบาล/คลินิคที่เปิดให้บริการดังนี้

Dendritic Cell Therapy Model (แหล่งที่มาของภาพ Http://www.nileport.com)

  • โรงพยาบาล Hokuyu เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด
  • โรงพยาบาล Hokuto เมืองโอบิฮิโระ จังหวัดฮอกไกโด
  • Sendai Ekimae AER Clinic เมืองเซนได จังหวัดมิยางิ
  • Seren Clinic เขตมินาโตะ กรุงโตเกียว
  • Tokyo Midtown Medical Center เขตมินาโตะ กรุงโตเกียว
  • Kudan Clinic เขตชิโยดะ กรุงโตเกียว
  • Shinyokohama Kato Clinic เขตโยโกฮาม่า กรุงโตเกียว 
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยชินชู Shinshu University Hospital เมืองมัทซึโมโตะ จังหวัดนางาโนะ
  • โรงพยาบาลทันตกรรมมัทซึโมโตะ เมืองชิโอจิหริ จังหวัดนางาโนะ
  • Seren Clinic Nagoya อำเภอเมือง จังหวัดนาโงย่า
  • Saint Louis Clinic เขตเกียวโต กรุงเกียวโต
  • Seren Clinic Kobe เมืองโกเบ จังหวัดเฮียวโง
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอฮิเมะ เมืองโทอน จังหวัดเอฮิเมะ
  • Hanazono Clinic เมืองฟุกุยามะ จังหวังฮิโรชิมะ
  • Kagoshima Medical Center เมืองคาโงชิมะ จังหวัดคาโงชิมะ
  • Fukuoka IMAX clinic อำเภอเมือง จังหวัดฟุกุโอกะ
  • Seta Clinic Group สำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงโตเกียว 

การรักษาด้วยวิธีทาง Immuno-Cell Therapy (แหล่งที่มาของภาพ Seta Clinic Group, JAPAN)


ขั้นตอนการรักษาด้วย Dendritic Cell Therapy

    1. ผู้ป่วยรับการฟอกเลือดด้วยวิธีอะเฟอเรซิสเพื่อแยกเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte (Leukapheresis) สำหรับใช้ในการปลูกถ่ายวัคซีน
    2. ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะทำการเพาะวัคซีนเพื่อพัฒนาเป็น Dendritic cell 
    3. ทำการกระตุ้นเซลล์ Dendritic cell ด้วยเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยเพื่อให้เซลล์มีการจำลักษณะเซลล์มะเร็งนั้นๆและเข้าทำลายได้
    4. ฉีดวัคซีนที่ได้เข้าสู่เส้นเลือดของผู้ป่วยเพื่อให้เซลล์ออกฤทธิ์
แล้ว WT1 คืออะไร และทำไมจึงสำคัญมากกับการรักษาโรคมะเร็ง
              WT1 มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Wilm's Tumor Gene ซึ่งเป็นยีนที่ตอบสนองต่อการสร้างเซลล์มะเร็งไตในเด็ก ซึ่งยีนในหนูทดลองที่ไม่มียีนนี้จะมีปัญหาเดี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะและตายด้วยอาการหัวใจวาย เนื่องจากยีนดังกล่าวผลิตตำแหน่งโปรตีนที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตและการกลายประเภทของเซลล์ ยีนดังกล่าวจะพบมากในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์และแพทย์พบว่า โปรตีนที่ได้จากยีน WT1 คุณสมบัติเป็น tumor rejection antigen หรือแอนติเจนที่ต่อต้านเซลล์มะเร็ง มีการศึกษา การใช้วัคซีนดังกล่าว เพื่อการรักษาโดยที่สามารถใช้รักษาได้ในผู้ป่วยหลายรายนั้น มีดังนี้

      • Glioblastoma Multiforme มะเร็งสมอง
      • Renal Cell Carcinoma มะเร็งไต
      • Multiple Myeloma มะเร็งเม็ดเลือดขาว
      • Acute Myeloid Leukemias and Myelodysplastic syndrome มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอิลอยด์
      • Lung Cancer มะเร็งปอด
      • Breast Cancer มะเร็งเต้านม
      • Infantile Cancer มะเร็งในเด็ก
ด้วยสาเหตุที่มีความเป็นไปได้ในการรักษามะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เป็นที่แพร่หลายและยอมรับในประเทศญี่ปุ่นอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่มีการพัฒนาวัคซีนเซลล์บำบัดดังกล่าวจนสามารถใช้ได้ในระดับสากล ซึ่งทำให้การรักษามะเร็งด้วยวิธีนี้ มีให้บริการเป็นพิเศษในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น